พรุ่งนี้! คัมแบ๊ก “ตู้เสบียง” ขายอาหาร-เครื่องดื่ม บนขบวนรถด่วนพิเศษ ชุด 115 คัน

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่ รฟท. ออกประกาศเชิญชวนภาคเอกชนที่สนใจ และเปิดขายเอกสารเสนอโครงการจัดบริการ และเสนอราคาค่าเช่าสิทธิจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มบนขบวนรถ (ตู้เสบียง) กลุ่มขบวนรถด่วนพิเศษชุด 115 คัน เส้นทางสายเหนือ, สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ 8 ขบวน 4 เส้นทาง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 ก.ย.-17 ต.ค. 65 และได้กำหนดยื่นซองเอกสาร เมื่อวันที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีเอกชนซื้อซองเอกสารฯ 3 ราย แต่เข้ายื่นซองเสนอราคา 2 ราย ได้แก่ 1.บริษัท โบกี้ เอฟบี จำกัด และ 2.บริษัท แอ็ดวานซ์ มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิท จำกัด

นายเอกรัช กล่าวต่อว่า ผลปรากฏว่า บริษัท แอ็ดวานซ์ มาร์เก็ตติ้ง เซอร์วิท จำกัด เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกให้เช่าสิทธิจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่มบนขบวนรถด่วนพิเศษ ชุด 115 คัน 8 ขบวน ทั้งนี้ จะเริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 65 เป็นต้นไป โดยมีขบวนรถด่วนพิเศษ 8 ขบวน 4 เส้นทาง ประกอบด้วย สายเหนือ ขบวนรถด่วนพิเศษอุตราวิถี ที่ 9/10 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ, สายใต้ ขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ ที่ 31/32 กรุงเทพ-ชุมทางหาดใหญ่-กรุงเทพ, สายตะวันออกเฉียงเหนือ ขบวนรถด่วนพิเศษอีสานวัฒนา ที่ 23/24 กรุงเทพ-อุบลราชธานี-กรุงเทพ และขบวนรถด่วนพิเศษอีสานมรรคา ที่ 25/26 กรุงเทพ-หนองคาย-กรุงเทพ

นายเอกรัช กล่าวอีกว่า สำหรับการให้เช่าสิทธิจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่มบนรถด่วนพิเศษ ชุด 115 คัน ทั้ง 8 ขบวนนั้น รฟท. มีกำหนดระยะเวลาให้เช่าสิทธิ 3 ปี เริ่มให้เช่าสิทธิตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค.65 และสิ้นสุดสัญญาเช่าวันที่ 5 ธ.ค. 68 โดยเครื่องดื่มที่จะให้บริการมีทั้งแบบร้อน และเย็น ส่วนอาหารจะบรรจุในกล่องสุญญากาศที่ได้คุณภาพ นอกจากนี้ จะมีสินค้าที่เป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มาให้บริการบนขบวนอีกด้วย ซึ่งอาหารทุกชนิดจะมีการแจ้งราคาบนเมนูทุกรายการ โดยราคาจะเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานราคาอาหาร และเครื่องดื่มของฝ่ายบริการโดยสาร รวมทั้งจะมีการตรวจสอบคุณภาพของอาหารก่อนให้บริการทุกครั้งด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นายเอกรัช กล่าวด้วยว่า รฟท. ได้หยุดจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่มบนขบวนรถไฟให้แก่ผู้โดยสาร ตั้งแต่เดือน เม.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 63 เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และขบวนรถงดเดินรถ เพราะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของภาครัฐ โดยเฉพาะการล็อกดาวน์จำกัดการเดินทาง และงดการเดินทางข้ามจังหวัด แต่ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ เริ่มคลี่คลายลง ภาครัฐผ่อนคลายมาตรการต่างๆ รฟท. จึงกลับมาให้บริการอีกครั้ง คาดว่าการเปิดให้บริการครั้งนี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่ใช้บริการรถไฟ สามารถซื้ออาหาร และเครื่องดื่มภายในตู้เสบียงที่สะอาด ถูกหลักอนามัย ราคาเป็นธรรม และได้รับความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการสูงสุด

นายเอกรัช กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามในช่วงเดือน ม.ค. 66 รฟท. จะออกประกาศเชิญชวนภาคเอกชนที่สนใจ และเปิดขายเอกสารเสนอโครงการฯ ในกลุ่มขบวนรถด่วน และรถด่วนพิเศษ ในเส้นทางสายเหนือ และสายใต้ 10 ขบวน ได้แก่ รถด่วนพิเศษที่ 13/14 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ, รถด่วนที่ 51/52 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ, รถด่วนพิเศษที่ 37/38 กรุงเทพ-สุไหงโก-ลก-กรุงเทพ, รถด่วนที่ 83/84 กรุงเทพ-ตรัง-กรุงเทพ และรถด่วนที่ 85/86 กรุงเทพ-นครศรีธรรมราช-กรุงเทพ โดยคาดว่าจะได้ผู้เช่าสิทธิประมาณเดือน เม.ย. 66 จากนั้นจะเปิดให้บริการผู้โดยสารต่อไป.