มูเตลู เป็นคำเฉพาะที่ถูกใช้ในประเทศไทยเท่านั้น แต่การท่องเที่ยวมูเตลู อาจเทียบได้กับ การท่องเที่ยวนเชิงศรัทธาของต่างประเทศ ซึ่งคลอบคลุมถึงการท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ ซึ่งรายงานของ Future Market Insight พบว่า การท่องเที่ยวเชิงศรัทธาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลกถึง 13.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2565 และจะเพิ่มเป็น 40.92พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2576 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าภายใน 10 ปี
โอม คาเฟ่ ร้านกาแฟสุดปัง ดังเพราะมู (เก็ตติ้ง)
รู้จัก นักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่ม GIFT+ หนุนท่องเที่ยวไทยปี 66-67 โต
สำหรับประเทศไทย มูลค่าทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวสายมูฯ ของประเทศไทย จากการคาดดการณ์ของกระทรวงพาณิชย์ พบว่า เฉพาะการแสวงบุญสามารถสร้างรายได้หมุนเวียนในระบบมากถึง 10,800 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ต่อมูลค่าการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศในปี 2562
ขณะที่การท่องเที่ยวมูฯ ไม่ได้มีเพียงการแสวงบุญหรือการเยี่ยมชมวัดเท่านั้น แต่ยังมีสิ่งของและวัฒนธรรม ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบ คือ
1. มูเตลูที่เป็นสถานที่ แบ่งได้ 3 รูปแบบ คือ
วัด โบสถ์ มัสยิด ซึ่งกรณีของไทยวัดถือว่ามีจำนวนมากที่สุด โดยมีอยู่ในทุกภูมิภาค จากข้อมูลกองพุทธศาสนสถาน ปี 2565 มีวัดทั่วประเทศกว่า 43,005 แห่ง เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ศาลเจ้าและเทวสถาน ซึ่งเทวสถานที่มีชื่อเสียงที่สุดของไทย คือ ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ ซึ่งเป็นสถานที่ขอพรยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวจีน ฮ่องกง หรือ สิงคโปร์ จนสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศปีละหลายพันล้านบาท รวมทั้งอุทยานพระพิฆเนศ จ.นครนายก
รูปจำลองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ศาลหลักเมือง หนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คู่เมืองที่มีอยู่ทุกจังหวัด หรือ รูปปั้นไอ้ไข่ เป็นต้น
2. มูเตลูที่ไม่ใช่สถานที่
เครื่องรางของขลัง โดยเฉพาะพระเครื่อง ที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นพุทธ (พุทธศิลป์) ที่อยู่คู่ประเทศไทยมารับ 2,000 ปี ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติ เป็นอย่างมาก ทำให้ไทยเป็นตลาดพระเครื่องที่ใหญ่ที่สุดในโลก และคาดว่ามีเงินหมุนเวียนในแต่ละปีมากกว่า 1.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (South China) ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยยังนำเครื่องรางของขลังและวัตถุมงคลประเภทต่างๆ มาปลุกเสก สร้างแบรนด์สำหรับเช่าบุชาหรือใช้เป็นเครื่องประดับคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
พิธีกรรม เช่น สักยันต์ หนึ่งในงานศิลปะและมรดกวัฒนธรรมที่มีเสน่ห์เฉพาะตัว มีชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยนำเอาความเชื่อและความศรัทธามาสร้างลวดลายการสักให้ตอบโจทย์ความต้องการ เช่น ต้องการเสริมเรื่องโชคลาภ แคล้วคลาด ปลอดภัย พ้นจากอันตรายต่างๆ
สะท้อนในเห็นว่า ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อของไทยมีความหลากหลาย และมีความเป็นพหุวัฒนธรรม คือ ผสมผสานวัฒนธรรมทางศาสนา และความเชื่อจากชาติอื่นๆ จนกลายเป็น soft power ที่สามารถดึงดูดการท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติได้ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาครัฐ ผู้ประกอบการใช้กลยุทธ์ทางการตลาด สร้าง Branding ที่คลอบคลุมทั้งสถานที่ บุคคล และกิจกรรมสายมูฯ ทั้งส่วนที่เป็นสถานที่ และไม่ใช่สถานที่ดังที่กล่าวไปข้างต้น
ที่มา :สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ